Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.82/83 ลุ้น GDP ไตรมาส 4/66 สหรัฐคืนนี้ คาดกรอบ 35.80-36.00

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

28

2024-02

Date Icon
2024-02-28
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.82/83 ลุ้น GDP ไตรมาส 4/66 สหรัฐคืนนี้ คาดกรอบ 35.80-36.00

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.82/83 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้างทรงตัวจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.81 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้ เคลื่อนไหวค่อนข้างนิ่งๆ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ไม่ได้ทำให้ดอลลาร์เคลื่อนไหวมาก และยังอยู่ในกรอบ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ไตรมาส 4/2566 (ประมาณการ ครั้งที่ 2) นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 35.80 – 36.00 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.45/47 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 150.20 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0838/0842 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0853 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 35.891 บาท/ดอลลาร์ – ครม. เห็นชอบให้ปรับวันพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 67 ใหม่ หลังจากสำนักงบประมาณเห็นว่าสามารถ ดำเนินการได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ โดยจะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 20-21 มี.ค. จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 3-4 เม.ย.67 ขณะที่ในชั้นของวุฒิสภา (สว.) จะพิจารณาได้ในวันที่ 26 มี.ค.เพียงวันเดียว จาก เดิมกำหนดไว้วันที่ 9-10 เม.ย.67 และคาดว่าจะสามารถนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 67 ขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ในวันที่ 3 เม.ย. 67 หรือ เร็วขึ้นจากปฏิทินงบประมาณเดิม ประมาณครึ่งเดือน – บอร์ดค่าจ้าง มีมติเคาะสูตรใหม่ใช้ปี 67 เริ่มจาก 10 จังหวัดท่องเที่ยว คำนวณตามรายพื้นที่-กิจการ ให้อยู่ได้ตาม มาตรฐานค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายจำเป็น และข้อเท็จจริงทางสังคมเศรษฐกิจ รวมถึงศักยภาพนายจ้างที่ต้องจ่าย ด้านปลัดแรงงาน ปัดวันละ 400 บาท แต่จะทำให้ดีที่สุด และพยายามทำให้ทันประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในเดือนเม.ย. ยันมตินี้ไม่มีแรงกดดันจากรัฐบาล – ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (27 ก.พ.) ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ถ่วงดอลลาร์ลง – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปรับตัวเพิ่มขึ้นในการซื้อขายเมื่อวันอังคาร (27 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของ เงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังได้แรงหนุนจากแรงซื้อของนักลงทุนเพื่อชดเชยการขายชอร์ต (short covering) ด้วย – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ดิ่งลง 6.1% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่ สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.63 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 4.5% หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนธ.ค. – ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลงในเดือนก.พ. หลังจากดีด ตัวขึ้นติดต่อกัน 3 เดือน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับตลาดแรงงาน และปัจจัยทางการเมืองในสหรัฐ – ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ อียู เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ., สหรัฐฯ เปิดเผย ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2) และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศ ด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว