Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.95 ตลาดรอปัจจัยใหม่-จับตาทิศทาง Flow ช่วงสิ้นเดือน

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

27

2024-02

Date Icon
2024-02-27
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.95 ตลาดรอปัจจัยใหม่-จับตาทิศทาง Flow ช่วงสิ้นเดือน

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.95 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก สุดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะที่ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโร ส่วนปัจจัยในประเทศต้องจับตาดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง แต่ราคาน้ำมันปรับ ตัวเพิ่มขึ้น “บาทแข็งค่าจากสุดสัปดาห์ก่อน เนื่องจากเป็นวันหยุดยาว ตลาดยังรอปัจจัยใหม่ วันนี้อาจต้องดู Flow ช่วงสิ้นเดือน” นัก บริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.85 – 36.10 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.88500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.53 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 150.73 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0847 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0815 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.002 บาท/ดอลลาร์ – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นัดชี้แจงมติคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้เห็นชอบในหลักการ เรื่อง “มาตรการยกระดับความเชื่อมั่นเรื่อง short selling และ program trading รวมถึงมาตรการเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลแก่ สาธารณชน” ในช่วงเที่ยงวันนี้ – ส.อ.ท.เกาะติดการค้าชายแดนไทยปี 2567 ที่ยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องหลังปี 2566 ค้าขายแดน 4 ประเทศเพื่อน บ้านลดลง 12.06% จาก ศก. เพื่อนบ้านชะลอ ความไม่สงบในเมียนมา แถมเจอสินค้าจีนเข้าตีตลาดอาเซียน และปัญหาโลจิสติกส์ พร้อม เร่งช่วยเหลือนักลงทุนไทยในเมียนมาหันใช้สกุลเงินบาทลดความเสี่ยง จับตาสินค้าไปตะวันออกกลางอาจกระทบหลังค่าระวางเรือขึ้นรายวัน – อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนม.ค. แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และอยู่ที่ระดับเป้า หมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ 2% ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนเม.ย.นี้ – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (26 ก. พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพื่อ ประเมินช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (26 ก.พ.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัย กดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย – ข้อมูลล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนได้เลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ เฟดออกไปเป็นเดือนมิ.ย. จากเดิมที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ภายหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงเกินคาด – นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ก่อนที่ การประชุมนโยบายการเงินของเฟดครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 19-20 มี.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว