ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.86 แกว่งข้างรอเงินเฟ้อสหรัฐ ลุ้นพรุ่งนี้อ่อนค่าแตะ 36 บาท/ดอลลาร์ - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.86 แกว่งข้างรอเงินเฟ้อสหรัฐ ลุ้นพรุ่งนี้อ่อนค่าแตะ 36 บาท/ดอลลาร์

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

13

2024-02

Date Icon
2024-02-13
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.86 แกว่งข้างรอเงินเฟ้อสหรัฐ ลุ้นพรุ่งนี้อ่อนค่าแตะ 36 บาท/ดอลลาร์

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.90 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.84 – 35.96 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทยังแกว่งออกข้าง เนื่องจากยังไม่มี ปัจจัยใหม่ ประกอบกับหลายตลาดในเอเชียยังอยู่ในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน จึงทำให้ผู้เล่นในตลาดค่อนข้างจะเบาบาง อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ตลาดรอดู คือ การรายงานตัวเลข CPI เดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ในคืนวันอังคารนี้ “หากเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ ออกมามากกว่าที่ตลาดคาด ก็จะมีผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เพราะตลาดจะมองว่า การที่เฟด จะลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.หรือ พ.ค.จะมีโอกาสน้อยลง ซึ่งจะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และบาทก็จะอ่อนค่า” นักบริหารเงินระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.80 – 36.00 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.13 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.17 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0794 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,389.30 จุด เพิ่มขึ้น 0.93 จุด (+0.07%) มูลค่าซื้อขาย 25,036.27 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 44.28 ล้านบาท – นายกรัฐมนตรี แถลงผลการแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 1 ธ.ค.66 จากผู้ที่มาลงทะเบียนทั้งหมด 140,000 ราย มูลหนี้ราว 9,800 ล้านบาท และมีผู้รอเข้ากระบวนการ (ข้อมูลไม่ครบ) 119,000 ราย โดยหลังจากดำเนินการมา ประมาณ 2 เดือน มีผู้ที่เข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาหนี้แล้ว 21,000 ราย และอยู่ระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ย 9,000 ราย โดยมีผู้ที่ได้ รับการไกล่เกลี่ยสำเร็จแล้ว 12,000 ราย มูลหนี้ลดลง 670 ล้านบาท – จับตาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อังคารนี้ (13 ก.พ.) พิจารณาข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีต่อโครงการแจกเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ซึ่งเมื่อ ครม. มีความเห็นอย่างไร แล้ว ก็อาจจะส่งต่อให้คณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาต่อไป – หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมิร์ซแบงก์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมนี จะหดตัวลง 0.3% ในปี 2567 โดยคาดว่า ปัจจัยที่จะฉุดรั้งเศรษฐกิจมากที่สุดในปีนี้ มาจากการส่งออก และภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง รวมทั้งผลกระทบจากสถานการณ์ความขัด แย้ง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ – ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) แถลงต่อรัฐสภาว่า นิวซีแลนด์ ยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และเป็น เหตุผลสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการ RBNZ ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน พร้อมเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่ 4.7% ในปัจจุบันเป็น ระดับที่สูงเกินไป ซึ่งคณะกรรมการ RBNZ มีเป้าหมายจะฉุดเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับ 2% – ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด คาดการณ์ว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) อนุมัติจัดตั้ง Spot Bitcoin ETF จะดึงดูดให้นักลงทุนสถาบันเข้าสู่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี และจะทำให้มีเม็ดเงินราว 50,000-100,000 ล้านดอลลาร์ไหลเข้าสู่บิตคอยน์ในปีนี้ ซึ่งจะหนุนราคาบิตคอยน์ พุ่งแตะระดับ 200,000 ดอลลาร์ภายในปี 2568 – กระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือนม.ค.ในวันพรุ่งนี้ (13 ก.พ.) ขณะที่นักวิเคราะห์ คาด การณ์ว่า ดัชนี CPI เดือนม.ค.จะขยับขึ้นเพียง 0.2% และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่ม ขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว