ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.67 อ่อนค่า รับเม็ดเงินไหลออกตลาดหุ้นและพันธบัตรต่อเนื่อง - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.67 อ่อนค่า รับเม็ดเงินไหลออกตลาดหุ้นและพันธบัตรต่อเนื่อง

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

24

2024-01

Date Icon
2024-01-24
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.67 อ่อนค่า รับเม็ดเงินไหลออกตลาดหุ้นและพันธบัตรต่อเนื่อง

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.67 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวจากปัจจัยในประเทศเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจปีที่แล้วของธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังที่ออกมาไม่ค่อยดี และทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 35.49 – 35.71 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ตลาดยังไม่มีปัจจัยชี้นำใหม่เข้ามา “บาทกลับมาอ่อนค่า ระหว่างวันผันผวนมากจากปัจจัยในประเทศ ยังคงมี Flow ต่างชาติไหลออกจากทั้งตลาดพันธบัตรและ ตลาดหุ้นต่อเนื่อง หลังข้อมูลของแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังออกมาว่าเศรษฐกิจปีที่แล้วไม่ค่อยดี” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.55 – 35.80 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.52 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0887 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0880 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,356.54 จุด ลดลง 13.38 จุด, -0.98% มูลค่าซื้อขาย 48,638.21 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,013.05 ล้านบาท – กระทรวงการคลังรายงานว่า เศรษฐกิจไทยปี 66 คาดจะขยายตัวได้ 1.8% เนื่องจากแรงกดดันจากการหดตัวของภาค อุตสาหกรรม การส่งออกและการนำเข้า ส่วนปี 67 คาดเศรษฐกิจจะเร่งตัวขึ้นเป็น 2.8% หลังภาคส่งออกฟื้นกลับมาเติบโตได้ และการ บริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ โดยต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด – รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เผยยอดนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1-21 ม.ค.67 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,015,942 คน สร้างราย ได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 97,911 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนจากวีซ่าฟให้กับนักท่องเที่ยวจีน – ธนาคารรายใหญ่ของรัฐบาลจีนคุมเข้มสภาพคล่องในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราในต่างประเทศ และเทขายดอลลาร์ในตลาด ภายในประเทศ เพื่อหนุนค่าเงินหยวนไม่ให้อ่อนค่าเร็วเกินไปหลังตลาดหุ้นปรับตัวลดลง โดยมีเป้าหมายเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เงินหยวนร่วงลง เร็วเกินไป – เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายของจีนกำลังประเมินการใช้มาตรการมูลค่า 2 ล้านล้านหยวน (2.78 แสนล้านดอลลาร์ สหรัฐ) เพื่อฟื้นฟูตลาดหุ้น โดยเม็ดเงินเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากบัญชีในต่างประเทศของบริษัทรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนสร้าง เสถียรภาพที่มีเป้าหมายเพื่อเข้าซื้อหุ้นในตลาดหุ้นจีนผ่านทางโครงการ Hong Kong Exchange Link – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ (23 ม.ค.) ซึ่งรวมถึงการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ ระดับต่ำเป็นพิเศษ – ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับคาดการณ์ ว่า โอกาสที่เงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะปรับตัวสู่ระดับเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% นั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน – สำนักงานสถิติแห่งชาติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ติดตามอย่างใกล้ชิดนั้น เร่งตัวขึ้นอย่างคาดไม่ถึงในเดือนธ.ค. อย่างไรก็ตาม ทางการสิงคโปร์ยังคงแนว โน้มของปี 2567 ไว้เช่นเดิม เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ว่า แม้แรงกดดันด้านราคาในประเทศยังคงอยู่ แต่ก็สามารถจัดการได้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว