ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.58 อ่อนค่า รับดอลลาร์แข็งค่า-บอนด์ยีลด์เพิ่ม หลังยอดค้าปลีกสหรัฐดีกว่าคาด - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.58 อ่อนค่า รับดอลลาร์แข็งค่า-บอนด์ยีลด์เพิ่ม หลังยอดค้าปลีกสหรัฐดีกว่าคาด

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

18

2024-01

Date Icon
2024-01-18
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.58 อ่อนค่า รับดอลลาร์แข็งค่า-บอนด์ยีลด์เพิ่ม หลังยอดค้าปลีกสหรัฐดีกว่าคาด

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.58 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล เงินหลัก ตามบอนด์ยีลด์ที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาด ส่วนปัจจัยในประเทศต้องรอดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ ทั้งจากตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และผู้ค้าทอง โดยเมื่อวานต่าง ชาติขายหุ้น 5 พันล้านบาท ขายพันธบัตร 1 พันล้านบาท และแรงซื้อทองหลังราคาในตลาดโลกลดลง 20 ดอลลาร์/ออนซ์ “บาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก เกาะกลุ่มไปกับค่าเงินภูมิภาค บาทไม่น่าจะอ่อนค่ามากกว่านี้ หลังปรับตัวอ่อนค่าขึ้น มาเร็วเกือบ 1 บาท” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 – 35.75 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.59500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.21 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.72 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0882 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี่ที่ระดับ 1.0875 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.549 บาท/ดอลลาร์ – รมว.การท่องเที่ยวฯ ประกาศเคลื่อน 7 นโยบายหลัก ชูพลังซอฟต์พาวเวอร์ ความปลอดภัย พร้อมยกระดับสู่จุดหมายปลาย ทางคุณภาพ ปั๊มรายได้ท่องเที่ยว “3.5 ล้านล้าน” ดึงต่างชาติเที่ยวไทย 40 ล้านคน มั่นใจทัวริสต์จีนแตะ 8 ล้าน เผย “กต.” เร่งจัดทำ ข้อตกลงยกเว้นวีซ่าถาวร ไทย-จีน รอประกาศทางการ คาดเริ่มไทม์ไลน์เดิม 1 มี.ค.นี้ – กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเมื่อวานนี้ (17 ม.ค.) ว่า เศรษฐกิจจีนเติบโตบรรลุเป้า หมายซึ่งกำหนดไว้ที่ราว 5% และทะลุเป้าหมายดังกล่าว นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับจีน รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในเอเชียและทั่วโลก เพราะ การเติบโตของเศรษฐกิจจีนคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงหนึ่งในสามของเศรษฐกิจโลก – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค. 2566 เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ย. – นักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. และเพิ่ม น้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่สมาชิกบอร์ดผู้ว่าการเฟด กล่าวว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวด เร็วตามที่ตลาดคาดการณ์ – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (17 ม.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกิดคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ (17 ม.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด – นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนธ. ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว